ข้อตกลงในการใช้ข้อมูลผลการตรวจอากาศด้วยเรดาร์
1. กรมอุตุนิยมวิทยาเผยแพร่ข้อมูลผ่าน Web Server นี้เพื่อเป็นการบริการแก่สาธารณะ ผู้ใช้ข้อมูลจะต้องรับผิดชอบ

ต่อความเสียหายที่จะอาจเกิดขึ้นในการนำข้อมูลนี้ไปใช้เอง
2. เรดาร์ตรวจอากาศสามารถตรวจจับสิ่งที่ไม่ใช่หยาดน้ำฟ้า (Non-precipitation) ด้วย เช่น ครื่องบิน, ฝูงนก แมลง หรือ

 วัตถุบนพื้นโลก เช่น ตึกสูง หรือภูเขา เป็นต้น ดังนั้น

2.1 เป้าที่ปรากฏบนภาพซึ่งมีลักษณะเป็นแถบรอบ ๆ จุดที่ตั้งของสถานีเรดาร์ หรือเรียกว่า ground clutter


เกิดจากลำบีมของเรดาร์ที่ไม่ใช่ลำบีมหลักไปกระทบเป้าที่เป็นอาคาร หรือพื้นโลกในบริเวณใกล้ ๆที่ตั้งของสถานี

2.2 สภาวะของบรรยากาศก็สามารถทำให้เกิดเป้าที่ไม่ใช่หยาดน้ำฟ้าได้ เช่น การมีอุณหภูมิหักกลับในบรรยากาศ


เป็นต้น โดยจะทำให้ลำบีมหลักของเรดาร์ผิดปกติ และไปตรวจจับวัตถุบนพื้นโลก ทำให้เป้าที่ปรากฏบนภาพ


นั้นเสมือนกับกลุ่มฝนได้ หรือในบางสถานีเรดาร์ที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งก็จะทำให้ตรวจจับคลื่นในทะเลได้เช่นกัน

2.3 ตึกหรืออาคารสูง หรือภูเขา เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง (Anomalous Propagation) ซึ่งเป้าที่ปรากฏบนภาพจะซ้ำ ๆ กัน


ในบริเวณเดียวกันทุกครั้ง หรือบ่อยครั้ง
3. เรดาร์ตรวจอากาศอาจจะไม่สามารถตรวจจับกลุ่มฝนที่มีลักษณะเป็นฝนอ่อน หรืออ่อนมาก ได้
4. เรดาร์ตรวจอากาศอาจจะไม่สามารถตรวจจับกลุ่มฝนที่เกิดอยู่ใกล้ ๆ หรือเหนือสถานีเรดาร์ได้
5. เวลาที่ปรากฏในภาพถ้าระบุเป็นเวลา UTC / เวลาประเทศไทย = เวลา UTC + 7 ชั่วโมง เช่นเวลา 00.00 UTC = เวลา 07.00 น.
6. ภาพผลการตรวจที่แสดงนี้เป็นผลการตรวจแบบกึ่งเวลาจริง ที่ได้จากสถานีเรดาร์โดยตรง จึงยังไม่มีการทำการตรวจสอบความถูกต้อง
7. การนำข้อมูลนี้ไปใช้อาจจะต้องพิจารณาข้อมูลอุตุนิยมวิทยาอื่น ๆ ประกอบด้วย จึงจะทำให้สามารถแปลภาพเป้า (echo) ที่ปรากฏได้

อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น เช่น ภาพจากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา, ข้อมูลลมชั้นบน (Upper air), ข้อมูลฝน หรือความรู้ด้านเรดาร์ตรวจอากาศ เป็นต้น
8. Bangkok และ RainMaking radar คือผลการตรวจอากาศด้วยเรดาร์ของสถานีเรดาร์ในสังกัดของ

กรุงเทพมหานคร และกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ตามลำดับ
9. ควรจะกดปุ่ม refresh หรือ reload เพื่อจะได้มั่นใจได้ว่าภาพที่แสดงเป็นภาพล่าสุด

  

------------------------------------------------------------